สถาบันวิจัยและพัฒนาวิชาชีพครูสำหรับอาเซียน มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดย รองศาสตราจารย์ ดร.ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์ (กลาง) รองอธิการบดีฝ่ายการศึกษาและบริการวิชาการ รักษาการแทนผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาวิชาชีพครูสำหรับอาเซียน ประธานมูลนิธิการศึกษาเพื่อการพัฒนาทักษะการคิด มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้จัดพิธีลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการ “สร้างจิตสำนึกทางสิ่งแวดล้อม โดยใช้ STEAM Education ในการแก้ปัญหา” 4 หน่วยงาน ระหว่าง TOYO SYSTEM Co., LTD. สถาบันวิจัยและพัฒนาวิชาชีพครูสำหรับอาเซียน มหาวิทยาลัยขอนแก่น The Mathematics Certification Institute of Japan และ มูลนิธิการศึกษาเพื่อการพัฒนาทักษะการคิด ณ ห้องประชุม 402 Smart Classroom มหาวิทยาลัยขอนแก่น
รองศาสตราจารย์ ดร.ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์ กล่าวว่า โครงการ “สร้างจิตสำนึกทางสิ่งแวดล้อม โดยใช้ STEAM Education ในการแก้ปัญหา” สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยในหลายมิติ ประเด็นแรก คือเรื่องการบริการวิชาการแนวใหม่นำมหาวิทยาลัยสู่ความเป็นนานาชาติเสริมสร้างความร่วมมือเพื่อการพัฒนา ตามที่มหาวิทยาลัยขับเคลื่อนการบริการแนวใหม่ จะเคลื่อนย้ายจากการบริการวิชาการจากความรับผิดชอบต่อสังคม Corporate Social Responsibility (CSR) ไปสู่การสร้างคุณค่าร่วม Creating Shared Value (CSV) อย่างยั่งยืน ตอบโจทย์ของ SDG4 ของสหประชาชาติ เรื่องการพัฒนาอย่างยั่งยืน”
“ด้านการสร้างคุณค่าร่วม Creating Shared Value (CSV) นั้น บริษัท TOYO SYSTEM ร่วมมือกับทั้งกระทรวงเศรษฐกิจ การค้าและอุตสาหกรรม คณะกรรมการการศึกษาจังหวัด และภาคเอกชน ทำ CSV ในเมืองอิวากิ จังหวัด Fukushima เพื่อฟื้นให้ผู้คนที่ได้รับผลกระทบจากการระเบิดของไฮโดรเจน เมื่อปี 2011 รวมทั้งบริษัทและคนของบริษัทที่อยู่ห่างจากที่ระเบิดไม่เกิน 50 กม. ได้กลับมาใช้ชีวิตในเมืองได้อย่างเป็นปกติ”
“การสร้างความตระหนักเกี่ยวกับเรื่องสิ่งแวดล้อม และการคิดทางคณิตศาสตร์เป็นพื้นฐานสำคัญ ที่จะนำมาพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆ ไป พร้อมกับการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม ประเทศไทยก็ได้มีความร่วมมือกับ The Mathematics Certification Institute of Thailand (SUKEN of Thailand) ในการส่งเสริมความสามารถทางคณิตศาสตร์ของเยาวชนไทย เพื่อให้ประเทศไทยเกิดความตระหนัก เกี่ยวกับการพัฒนาเทคโนโลยีในอนาคต โดยถ้าหากขาดการสร้างความตระหนักเรื่องสิ่งแวดล้อม ก็อาจจะประสบปัญหาเหมือนประเทศญี่ปุ่น อาทิเช่น โรค Minamata หรือ โรค Itai-itai ที่เกิดจากสารแคดเมียม และสารปรอท ดังนั้น หน่วยงานทั้ง 4 ฝ่าย จึงมีความตั้งใจอย่างสูงในการทำความร่วมมือครั้งนี้ เพื่อขับเคลื่อนโครงการต่อเนื่อง 5 ปี ในการสร้างจิตสำนึกทางสิ่งแวดล้อม โดยใช้ STEAM Education”
“ส่วนในเรื่องการทำ csv ในระดับลึกนั้น บริษัทเครือข่ายโตโยต้ามอเตอร์ ร่วมมือกับฝ่ายการศึกษาของจังหวัด สามารถสร้างความเข้าใจร่วมสร้างคุณค่าร่วมกันให้ประชาชนไม่กลัวพลังงานไฮโดรเจน เป็นต้นแบบของการพัฒนาเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่บริษัทเอกชนทำงานร่วมกันกับชุมชนกับจังหวัด ถือเป็นโมเดลต้นแบบ มีการให้ความรู้กับเด็กเยาวชนให้เข้าใจเรื่องการใช้พลังงานเช่นนี้ตั้งแต่ระดับประถมศึกษาทั้งระบบ เพื่อให้ประเทศไทยเกิดความตระหนัก เกี่ยวกับการพัฒนาเทคโนโลยีในอนาคต ถ้าขาดการสร้างความตระหนักเรื่องสิ่งแวดล้อม ก็อาจจะประสบปัญหาเหมือนประเทศญี่ปุ่น อาทิเช่น โรค Minamata หรือ โรค Itai-itai ที่เกิดจากสารแคดเมียม และสารปรอท”
“โครงการ “สร้างจิตสำนึกทางสิ่งแวดล้อม โดยใช้ STEAM Education ในการแก้ปัญหา” จะสามารถกระตุ้นให้ประเทศไทยเกิดความตระหนักเกี่ยวกับการพัฒนาเทคโนโลยีในอนาคตได้ โดยใช้ STEAM Education โดยจะต้องให้ความรู้ให้เกิดความเข้าใจแก่นักเรียน นักศึกษาว่า การพัฒนาอุตสาหกรรม การพัฒนาเทคโนโลยีนั้น จะต้องเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมด้วย ซึ่งในอีก 5 ปี ถัดไปจากนี้ จะเป็นโครงการความร่วมมือที่มีผลกระทบอย่างสำคัญทั้งในระดับมหาวิทยาลัย และระดับประเทศ ทั้งยังตอบสนองยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยเรื่อง International Collaboration และการที่มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้มีโอกาสเชื่อมการทำงานกับบริษัทชั้นนำของโลก และนักวิทยาศาสตร์ที่มีความรู้ความสามารถ ประกอบกับมหาวิทยาลัยเองเราก็มีโรงงานแบตเตอรี่ เชื่อว่าจะเป็นประโยชน์กับมหาวิทยาลัยอย่างมากครับ” รองศาสตราจารย์ ดร.ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์ กล่าวในที่สุด
แท็ก :
ไทย-ญี่ปุ่น
มข.
STEAM Education
สิ่งแวดล้อม